วันอังคารที่ 31 ธันวาคม พ.ศ. 2556

ลักษณะของลูกชุบที่ดี

๑. มีความเหมือนจริง ตามลักษณะของจริงที่ปั้นเลียนแบบ
๒. มีสัดส่วนที่เหมาะสม ทั้งรูปร่างและรูปทรง
๓. มีสีสวยงาม คล้ายของจริงหรือใกล้เคีียงและไม่เป็นอันตราย
๔. รสชาติหวานมัน
๕. ผิวสัมผัสของถั่วนุ่มนวล เนื้อเนียน
๖. วุ้นที่เคลือบไม่หนาเกินไป เป็นมันวาว
๗. วัสดุที่ใช้ตกแต่ง ต้องไม่เป็นพิษต่อผู้บริโภค


การตกแต่งลูกชุบ

ข้อแนะนำนการตกแต่งลูกชุบ
     ๑. วัสดุที่นำมาใช้ตกแต่ง จะต้องไม่เป็นอันตรายต่อผู้บริโภค ไม่ทำให้เกิดกลิ่น รส สี
          หรือผิวสัมผัสที่ทำให้ลูกชุบเปลี่ยนสภาพไป
     ๒. ล้างทำความสะอาด ล้างให้สะอาดและผึ่ให้แห้งก่อนนำมาใช้
     ๓. การตัดตกแต่งใบที่จะนำมาใช้ ้องเลียนแบบจากของจริง เช่น ใบมะม่วงต้องยาวรี
         มะยมมีเฉพาะขั้ว
     ๔. การนำขั้วหรือก้านของจริงมาใช้ ควรเลือกให้เหมาะสมกับลูกชุบที่ปั้น
     ๕. เก็บใส่ภาชนะหรือกล่องที่มีฝาปิด เพื่อป้องกันลมจะทำให้ลูกชุบแห้งด้านไม่สวย
     ๖. การวางลูกชุบ ถ้ามีสีต่างกันควรใช้พลาสติกหรือใบตองคั่นป้องกันสีตกใส่กัน


การระบายสีลูกชุบ

ข้อเสนอแนะในการระบายสีลูกชุบ
     ๑. ศึกษาจากธรรมชาติของจริง โดยดูว่ามีสัสันอย่างไร เหลือบอ่อนแก่บริเวณใด
     ๒. ทดลองโดยใช้สีอ่อนๆ ก่อน ถ้ามีหลายสีให้ระบายสีอ่อนก่อนสีเข้ม
     ๓. ไม่ผสมน้ำเยอะเกิน เพราะจะทำให้แฉะและเลอะ
     ๔. พู่กันหรือสำลีที่ใช้ ควรสะอาดและไม่ใช้ปนกัน
     ๕. ควรระบายสีเบาๆ เพราะจะทำให้ผิวเป็นขุยชุบวุ้นแล้วไม่สวย
     ๖. ผสมสีทีละน้อยๆ ก่อน จะให้ให้ไม่เปลือง และสีไม่เหลือทิ้ง
     ๗. ใช้หลอดหยดหรือหลอดกาแฟดูดสีจากขวด ไม่ควรจุ่มโดยตรงในขวด
     ๘. ปิดฝาขวดสีทุกครั้งหลังใช้ ป้องกันการหกเลอะเทอะ และควรตรวจสอบดูวันผลิด
          วันหมดอายุทุกครั้งการใช้


การปั้นลูกชุบ

การปั้นลูกชุบ

ในการปั้นมีเทคนิคที่สำคัญดังต่อไปนี้
         ๑. ศึกษารูปร่างขอสิ่งที่จะปั้น  โดยดูจากของจริงหรือรูปภาพหาจุดเด่น เพื่อดึงจุดเด่นนั้น
             ออกมา
         ๒. ฝึกฝนการปั้นโดยปั้นจากดินน้ำมันก่อน เพื่อให้เกิดความชำนาญ
         ๓. ขนาดของสิ่งที่จะปั้น ควรมีขนาดใกล้เคียงกัน ไม่ว่าจะเป็นรูปผลไม้ รูปผัก หรือรูปอื่นๆ
         ๔. พื้นฐานการปั้น ควรเริ่มต้นปั้นกับสิ่ของที่เป็นรูปทรงกลมหรือรูปที่ง่ายๆ ก่อนคลึงเนื้อถั่ว
             ให้แน่น
         ๕. ควรมีกล่องใส่หรือผ้าขาวบางชุบน้ำหมาดๆ ปิดลูกชุบที่ปั้นเสร็จ ไม่ควรปั้นทีละมากๆ
              หรือพักไว้นานๆ ควรปั้น ระบายสี ชุบวุ้น สลับกันไป
         ๖. การปั้นทุกครั้งควรใส่ใจเรื่องความสะอาด ล้างมือ เช็ดมือให้แห้ง



วุ้นสำหรับชุบ



 วุ้นสำหรับชุบ

ส่วนผสม

 วุ้นผง                                             ๒       ช้อนโต๊ะ

 น้ำเปล่า                                          ๓       ถ้วยตวง
           น้ำตาลทราย                                     ๑/๔   ถ้วยตวง

วิธีทำ


๑. ผสมวุ้นกับน้ำเปล่าให้เข้ากัน

๒. นำขึ้นตั้งไฟปานกลาง 
๓. พอเดือดใส่น้ำตาลทราย คนให้น้ำตาลทรายละลาย เคี่ยววุ้นให้งวดลง ๑ ใน ๓ ยกลง


วัสดุอุปกรณ์


วัสดุอุปกรณ์การทำขนมลูกชุ
              
 ไม้ไผ่              เหลาปลายทั้งสองข้างให้แหลมสำหรับทำไม้ปักและเสียบลูกชุบ 
แผ่นโฟม          สำหรับพักลูกชุบที่ทาสีหรือชุบวุ้น แล้ว 
ถ้วยตะไลเล็ก    สำหรับผสมสี

สำลีพันก้บไม้    สำหรับระบายสี 
พู่กัน                สำหรับทำลวดลาย 
มีดบางเล็ก        สำหรับตัดวุ้นส่วนที่เกิน 
กรรไกร            สำหรับตัดใบหรือวัสดุตกแต่ง 
ตะเกียบ            สำหรับตกแต่งรูปทรงลูกชุบ 
กล่องพลาสติก  สำหรับใส่ลูกชุบที่ปั้นเสร็จ

หลอดหยดสี     สำหรับหยดสีที่ต้องการ 
ผ้าขาวบาง       สำหรับคลุมถั่วที่รอการปั้น 
สีผสมอาหาร     ควรเป็นสีที่ผ่านการ รับรองมาตรฐาน 
ถาด                 สำหรับวางวัสดุอุปกรณ์เพื่อป้องกันไม่ให้สกปรก 

 

ถั่วกวน

ถั่วกวน
ส่วนผสม

ถั่วเขียวเลาะเปลือกผ่าซีกแช่น้ำ                 ๕     ถ้วยตวง

มะพร้าวขูดขาว                                     ๔๐๐  กรัม

น้ำตาลทราย                                         ๒     ถ้วยตวง


วิธีทำ
๑. แช่ถั่วเขียวประมาณ ๖ ชั่วโมง หรือค้างคืน

๒. ล้างน้ำให้สะอาด นำไปนึ่งให้สุก
๓. คั้นมะพร้าวให้ได้กะทิ ๑ ถ้วยตวง
๔. ผสมถั่วกับกะทิให้เข้ากัน แล้วนำไปบดให้ละเอียด
๕. นำขึ้นตั้งไฟปานกลาง พอเดือนใส่น้ำตาลทราย หรี่ไฟลงกวนต่อจนกระทั่งแห้งพอ
     ป้นได้ ยกลงพักให้เย็น 



ข้อเสนอแนะ
๑.    ถ้ากวนเหลวไปจะปั้นยาก หรือถ้าแห้งเกินไปเวลาปั้นจะแตก
๒.    ต้องบดถั่วให้ละเอียด จะทำให้ผิวขนมเนียนและระบายสีสวย
๓.    ถ้าต้องการกลิ่นหอมให้เติมกลิ่นขณะกวนหรือใช้การอบควันเทียนหลังการ 
       ปั้นเสร็จ